วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การแกะสลักผัก-ผลไม้




ประวัติความเป็นมาของการแกะสลักผักและผลไม้
การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้เห็นจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปหรือลดน้อยลงไปเรื่อย การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาการขั้นสูงของกุลสตรีในรั้วในวัง ต้องฝึกฝนและเรียนรู้จนเกิดความชำนาญบรรพบุรุษของไทยเราได้มีการแกะสลักกันมานานแล้ว แต่จะเริ่มกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่มีผู้รู้เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่ชัด จนถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในรัชสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้มีนางสนมคนหนึ่งชื่อ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศขึ้น และในหนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงพิธีต่าง ๆ ไว้ และพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นนักขัตกฤษ์ชักโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งามประหลาดกว่าโคมของพระสนมทั้งปวง ได้เลือกผกาเกสรสีต่าง ๆ ประดับเป็นรูปดอกกระมุทบานกลีบรับแสงพระจันทร์ ล้วนแต่พรรณของดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลายแล้วจึงนำเอาผลพฤกษาลดาชาติ มาแกะสลักเป็นระมยุระคณานกวิหคหงส์ให้จับจิกเกสรบุปผาชาติอยู่ตามกลีบดอกกระมุท เป็นระเบียบร้อยวิจิตรไปด้วยสีย้อมสดส่ง ควรจะทอดทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบแซมเทียนธูปและประทับน้ำมันเปรียงเจือด้วยไขข้อระโค (กรมศิลปากร, 2531 : 97 – 98) จึงได้มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดการประพันธ์ยิ่งนัก พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนา ชมฝีมือการทำอาหาร การปอกคว้านผลไม้ และประดิดประดอยขนมสวยงาม และอร่อยทั้งหลาย ว่าเป็นฝีมืองามเลิศของสตรีชาววังสมัยนั้น พระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวานตอนหนึ่งว่า น้อยหน่านำเมล็ดออก ปล้อนเปลือกปอกเป็นอัศจรรย์มือใครไหนจักทัน เทียบเทียมที่ฝีมือนาง ผลเงาะไม่งามแงะ มล่อนเมล็ด และเหลือปัญหาหวนเห็นเช่นรจนา จำเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม (กรมวิชาการ, 2530 : 17) และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง สังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอนนางจันทร์เทวี แกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของนางกับพระสังข์ นอกจากนั้นยังมีปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่อง เมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องว่า มีคุณสมบัติของกุลสตรี เพรียกพร้อมด้วยฝีมือการปรุงแต่งประกอบอาหารประดิดประดอยให้สวยงามทั้งมีฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวง ทำให้ทราบว่า กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้ และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า การแกะสลักผัก ผลไม้ เป็นศิลปะของไทยที่กุลสตรีในสมัยก่อนมีการฝึกหัด เรียนรู้ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ ก็จะได้รับการยกย่อง ปัจจุบันวิชาการช่างฝีมือเหล่านี้ ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษามาจนถึงอุดมศึกษาเป็นลำดับ ประกอบกับรัฐบาลและภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุน จึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการแกะสลักผลงานประเภทเครื่องจิ้ม จนกระทั่งงานแกะสลักได้กลายเป็นสิ่งที่ต้องประดิษฐ์ ตกแต่งบนโต๊ะอาหารในการจัดเลี้ยงแขกต่างประเทศ ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ภัตตาคาร ตลอดจนร้านอาหาร ก็จะใช้งานศิลปะการแกะสลักเข้าไปผสมผสานเพื่อให้เกิดความสวยงาม หรูหรา และประทับใจแก่แขกในงาน หรือสถานที่นั้น ๆ งานแกะสลักผลไม้ จึงมีส่วนช่วยตกแต่งอาหารได้มาก คงเป็นเช่นนี้ตลอดไป

การแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์โดยทั่วไป นิยมใช้ เผือก มันเทศ ฟักทอง หรือมะละกอ แกะสลักลวดลายสัตว์ เช่น ปลาเงิน ปลาทอง จากมันเทศ ที่เมื่อแกะสลักเสร็จแล้วนำไปเชื่อม เพื่อเป็นของหวาน นอกจากนี้ยังสามารถแกะสลักจากมะละกอสุกแต่ไม่นิ่มแกะเป็นปลาคราฟก็ได้การแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์นี้มีความจำเป็นจะต้องละเอียดอ่อน ตั้งแต่การเลือกชนิดของผักและผลไม้ เช่น การใช้มะละกอ แกะสลักเป็นตัวปลา ควรเลือกมะละกอพันธุ์โกโก้นำมาแกะสลักเป็นตัวปลา เพราะมีช่องว่างภายในผลกว้าง ความแน่นของเนื้อน้อยกว่าพันธุ์แขกดำ ที่เหมาะสำหรับนำมาแกะสลักเป็นดอกไม้ต่าง ๆ เพราะพันธุ์นี้มีเนื้อแน่นช่องว่างภายในแคบ เมล็ดน้อยเหมาะที่จะนำมาตัดแบ่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม (ชลลดา, 2542 : 324)หลักการแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์ หลักการแกะสลักผักและผลไม้เป็นตัวสัตว์ก็คล้าย ๆ กับการแกะสลักผักและผลไม้เป็นใบไม้และดอกที่กล่าวมาแล้วในครั้งที่ 3 และ 4 โดยมีลำดับขั้นดังต่อไปนี้
1. เลือกผักหรือผลไม้ที่จะนำมาแกะสลักเป็นตัวสัตว์ให้เหมาะสมกับตัวสัตว์ที่จะแกะ ตามวิธีการเลือกผักและผลไม้เพื่อการแกะสลัก
2. ล้างผักหรือผลไม้ให้สะอาดปอกเปลือกเพียงบาง ๆ เพื่อไม่ให้เสียเนื้อของผักและผลไม้ในส่วนที่จะแกะสลัก
3. ร่างรูปสัตว์ที่จะทำการแกะสลักให้มีรายละเอียดที่จำเป็นให้ครบถ้วน
4. ฉลุให้เป็นตัวสัตว์โดยเกลาให้เกลี้ยง เซาะร่องต่าง ๆ ตามลวดลายที่ร่างไว้ให้ครบถ้วน
เครื่องมือ และอุปกรณ์
1. มีดแกะสลัก 1 เล่ม
2. มีดบาง 1 เล่ม
3. ภาชนะสำหรับใส่น้ำ
4. ถาด
5. กล่องหรือถุงพลาสติกสำหรับใส่ชิ้นงานที่แกะสลัก
6. ผ้าเช็ดมือ
วัสดุ
1. แครอทหัวใหญ่ ๆ 1 หัว
2. หัวผักกาดขาว 1 หัว
3. มันฝรั่งหัวใหญ่ 1 หัว5.
1 การแกะสลักเป็นหัวแครอทเป็นปลาทอง ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติการแกะสลักหัวแครอทเป็นปลาทอง
1. ตัดหัวแครอทจากขั้วยาวประมาณ 4 นิ้ว ปอกเปลือกและเกลาให้เกลี้ยง
2. เซาะร่องแบ่งระหว่างลำตัวกับหางส่วนลำตัวประมาณ 1 ? นิ้ว ส่วนหาง 2 ? นิ้ว แต่งครีบหลังปลา
3. เกลาลำตัวปลาให้เป็นรูปอ้วนกลม
4. แต่งส่วนหัวและปาก คว้านส่วนเนื้ออยู่ในปากออก
5. มีดแกะสลักเซาะหางให้เป็นริ้ว ๆ กรีดและคว้านเนื้อส่วนหางออก เพื่อให้ดูบางเบา
6. มีดแกะสลัก เซาะตามลำตัวให้ดูเหมือนเกล็ดปลา
7. แต่งครีบหลังให้เป็นริ้ว ๆ
8. ตัดแครอทเป็นชิ้นกลม ๆ แล้วหาเมล็ดพืชมาติดเป็นตา 5.2 การแกะสลักหัวผัดกาดขาวเป็นนกกระยาง
ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติการแกะสลักหัวผัดกาดขาวเป็นนกกระยาง
1. เลือกหัวผักกาดที่มีผลโค้ง เพื่อจะได้แต่งให้เข้ากับรูปร่างนก
2. แต่งส่วนลำคอ และส่วนหาง
3. เกลาลำคอ ลำตัว
4. เจาะด้านข้างท้งซ้ายขวา เพื่อไว้ใส่ปีก
5. การวางปีกอยู่ที่ความต้องการว่าจะวางรูปแบบอย่างไร
6. แต่งปากนกด้วยพริก และตาด้วยเมล็ดพืช 5.3 การแกะสลักมันฝรั่งเป็นนก
ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติการแกะสลักมันฝรั่งเป็นนก
1. ล้างมันฝรั่งให้สะอาด ปอกเปลือกบาง ๆ แบ่งมันฝรั่งตามความยาวออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ตัว และหาง
2. บากตรงส่วนคอ และหางให้ยาวแบนเกลา ส่วนคอไปหาลำตัวจนถึงหาง
3. ตกแต่งหัว ลำตัว และปีกให้ได้รูปทรงก่อน
4. แต่งลำตัว ปีก โดยใช้มีดปาดเซาะใต้ปีกให้เด่นขึ้น
5. ใช้มีดแกะสลักเซาะเป็นร่องปีก เริ่มแกะลายดอกข่า หรือดอกรักเร่ลงบนตัวนก เริ่มจากหลังนกก่อน
6. ตกแต่งปากด้วยพริกชี้ฟ้าแดง หรือใช้แครอทฝานบาง ๆ ส่วนตาใช้เมล็ดมะละกอหรือเข็มหมุดสีแดงก็ได้





อยากฝีมือได้เท่านี้จัง ต้องหมั่นฝึกฝนๆ



งดงามมากๆ พื้นฐานการแกะสลักเลยค่ะ ดอกรักเร่



ดอกไม้รวมนี้เป็นผลงานของคนในศูนย์ศิลปกรรมอาหารไทยนะคะ สวยมาก


































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น