วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ขนมหลอกเด็ก













ขนม(หลอก)เด็ก ยาพิษผ่อนส่งขนม(หลอก)เด็ก ยาพิษผ่อนส่งขนม จากเดิมที่มีฐานะเป็นเพียงของว่างหลังอาหารมื้อหลัก ปัจจุบันขยับอันดับไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเยาวชนไทย เพราะไม่ว่าจะหันหน้าไปทางไหน เด็กไทยวันนี้สามารถหาซื้อขนมได้ตลอดเวลา ทั้งในโรงเรียน หน้าโรงเรียน กลับถึงบ้านขนมเจ้าปัญหาก็ยังไปนอนยิ้มคอยท่าอยู่บนโต๊ะกินข้าวในครัว ทุกลมหายใจของเด็กตั้งแต่เล็กจนโตในบ้านเรา จึงมีมิตรแท้คู่กายเป็นขนมที่ถือติดมือกันเป็นภาพชินตาขนม จากเดิมที่มีฐานะเป็นเพียงของว่างหลังอาหารมื้อหลัก ปัจจุบันขยับอันดับไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตเยาวชนไทย เพราะไม่ว่าจะหันหน้าไปทางไหน เด็กไทยวันนี้สามารถหาซื้อขนมได้ตลอดเวลา ทั้งในโรงเรียน หน้าโรงเรียน กลับถึงบ้านขนมเจ้าปัญหาก็ยังไปนอนยิ้มคอยท่าอยู่บนโต๊ะกินข้าวในครัว ทุกลมหายใจของเด็กตั้งแต่เล็กจนโตในบ้านเรา จึงมีมิตรแท้คู่กายเป็นขนมที่ถือติดมือกันเป็นภาพชินตา ในขณะที่องค์การอนามัยโลก ยืนยันว่า ขนม เป็นอาหารทำลายสุขภาพ แม้จะไม่ใช่สารอาหารอันตราย ทานแล้วตายทันตาเห็น หากแต่การบริโภคมากเกิน จะส่งผลต่อสุขภาพของประชากร และมีผลกระทบรุนแรงต่อระบบสุขภาวะของสังคมในระยะยาว พฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้ขนมไม่ได้เป็นเพียงของว่างหลังจากรับประทาน อาหาร แต่กลับถูกยกสถานะแทนอาหารมื้อหลักบางมื้อ การศึกษาของ"สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล"พบว่า เด็กไทยได้รับพลังงานประมาณ 1 ใน 4 จากการบริโภคขนม ซึ่งสูงกว่าค่าที่เหมาะสมของการรับสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน เด็กที่บริโภคขนมมากจนกระทั่งปฏิเสธอาหารมื้อหลัก อาจเป็นได้ทั้ง "โรคขาดสารอาหาร" และ "โรคอ้วน" เพราะขนมเหล่านี้เต็มไปด้วยแป้ง น้ำตาล น้ำมัน ผงชูรส และเกลือ แต่มีสารอาหารซึ่งจำเป็นต่อการเติบโต และพัฒนาสติปัญญาของเด็กในปริมาณที่น้อยมาก นอกจากนี้ยังปฏิเสธไม่ได้ว่าโฆษณาจากสื่อต่างๆ มีส่วนกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโฆษณาทางโทรทัศน์ ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายตัวน้อยได้รวดเร็วและถ้วนหน้า มีเด็กจำนวนมากใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์นานหลายชั่วโมงในแต่ละวัน ซึมซับ "ภาพยั่วน้ำลาย" และกลายเป็นผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ไม่รู้เท่าทัน กลุ่มผู้ผลิตขนมและน้ำอัดลมเข้าใจดีว่า แม้กลุ่มผู้บริโภคของเขาจะยังไม่มีรายได้ แต่ถ้าวางแผนการตลาดดีๆ กำหนดรูปลักษณ์ให้ชวนยั่วใจ ใช้กลยุทธ์ด้านราคา การโฆษณาและลดแลกแจกของแถมล่อใจ ตบท้ายด้วยการหว่านทั่วเพื่อให้เด็กหาซื้อง่ายทุกที่ทุกเวลา แม้กระทั่งร้านค้าในโรงเรียน สุดท้าย เงินจะค่อยๆ ไหลผ่าน จากกระเป๋าของบรรดาผู้ปกครอง ผ่านผู้บริโภคตัวน้อย และกลายเป็นผลกำไรของผู้ประกอบการ ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่าเด็กและเยาวชน ประมาณ 21 ล้านคน ใช้จ่ายเรื่องขนมขบเคี้ยวปีละหนึ่งแสนหกหมื่นล้านบาท...! นั่นคือเท่ากับ 15.7% ของเงินงบประมาณแผ่นดินปี 2547 หรือมากกว่างบประมาณประจำปีของ 6 กระทรวงรวมกัน ภายใต้สีสันสวยงามหีบห่อบรรจุภัณฑ์ที่โดนใจผู้บริโภคตัวน้อยๆ เด็กไทยวันนี้กำลังหยิบยื่นอะไรเข้าปาก รายการหลุมดำจะพาท่านไปพบกับอันตรายที่แฝงอยู่ในส่วนผสมของขนมเหล่านั้น ทั้งลูกกวาด ลูกอม น้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น